ตั้งชื่อ Component บน Figma ยังไงให้ใช้ง่าย + วิธีจัดการ Description และ URL

แนะนำการตั้งค่าต่างๆเมื่อสร้าง component ใน Figma เช่น การตั้งชื่อ การใส่ Description และ URL

Marach T.

17 Apr 2023


💡 ทำไมถึงสำคัญ

ทีมดีไซน์มักมีปัญหาในการใช้งาน component library เมื่อมีจำนวน component ที่มากขึ้น → เพราะมองข้ามเรื่องพื้นฐานอย่างการตั้งชื่อ และการใส่ข้อมูลต่างๆ

การใส่ใจในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น จะทำให้ทีม

  • อ่านชื่อ component ได้ชัดเจน
  • ค้นหา component เจอได้ง่ายๆ
  • รู้ได้ว่าควรใช้ component นั้นๆ อย่างไร

🙂 ใครควรอ่าน

  • ดีไซน์เนอร์ที่ต้องการจัดการ component library ของตัวเองให้มีประสิทธิภาพขึ้น
  • เดฟ front end ที่ต้องทำ design system และกำลังหาวิธีในการต่องานกับดีไซน์เนอร์

ปัญหายอดฮิตของการสร้าง component library → ยิ่งมีของเยอะ ยิ่งใช้ยาก

ดีไซน์เนอร์มักจะสร้าง component library เอาไว้ใน Figma เพื่อให้ตัวเอง (และทีม) สามารถทำงานได้สบายขึ้น

แต่พอทำไปสักพัก component ก็ยิ่งเยอะ แทนที่จะทำงานเร็วขึ้น → กลายเป็นว่าเริ่มเกิดปัญหาแทนครับ!

  1. เจอ component ที่ตั้งชื่อประหลาดๆ งานดูไม่มีมาตราฐาน → อ่านยาก + งงว่าแบบไหนคือแบบที่ถูกต้องกันแน่
  2. หา component ไม่เจอ → ต้องคอยถามกันว่ามีมั้ย? อยู่ที่ไหน? แย่สุดคือ หาไม่เจอและสร้างใหม่มา
  3. หา component เจอ แต่ไม่รู้ว่าควรจะเอาไปใช้ยังไง → นำไปใช้แบบผิดๆ

ปัญหาข้อ (1) อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆที่หงุดหงิดใจ แต่ปัญหาข้อ (2)(3) ทำให้ design system ของเรามีประสิทธิภาพที่ลดลงอย่างชัดเจนเลยครับ

ซึ่งเราสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได้ง่ายๆ แค่เรา “ใส่ใจ” ในการสร้าง component ของเรามากขึ้นอีกนิดนึง ด้วยการ

  1. ตั้งชื่อให้ดี
  2. ใส่ description และ URL เพิ่มเข้าไป

✏️ Key idea 1: การตั้งชื่อ component ที่ดี → ทำให้อ่านง่าย และมีการจัดกลุ่มที่ชัดเจน

เมื่อเรากวาดสายตาดู component ต่างๆ → ทุกๆชิ้นควรมีรูปแบบชื่อที่เหมือนกันครับ

จากที่เคยลองทำมา (+อ่านเพิ่มเติมมาในเน็ต) ผมอยากจะแนะนำท่าเหล่านี้

ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เมื่อขึ้นต้นประโยค แล้วตามด้วยพิมพ์เล็กทั้งหมด

เช่น

  • Input
  • Tag
  • Highlight banner

แต่ถ้าเป็นคำเฉพาะ หรือตัวอักษร ก็พิมพ์เป็นตัวใหญ่ได้ครับ (อ่านง่าย)

  • Card A
  • Card B
  • Google Maps

ถ้าเป็น component ที่เริ่มซับซ้อนขึ้น เราอาจจะ group มันตามหน้าที่ หรือ option ต่างๆ เช่น

ถ้ามีพวก component พื้นฐานที่ใช้บ่อยๆ เราอาจจะกรุ๊ปเป็นประเภทเดียวกัน เช่น

  • Foundation / Input
  • Foundation / Text
  • Foundation / Toggle

หรือถ้ามี component ที่มี option เยอะๆเราอาจจะตั้งเป็น

  • Card / Card A
  • Card / Card B

ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะกรุ๊ปยังไง ก็อย่าไปคิดมากครับ ลองทำออกมาเป็นตัวเดี่ยวไปก่อนแล้วค่อย evolve ภายหลังก็ได้

เช่น

ตอนแรกมี Card แค่แบบเดียว → เราสร้าง component ชื่อการ์ดขึ้นมาชื่อว่า “Card”

เวลาผ่านไป Card แบบใหม่เพิ่มขึ้นมา เราก็

  • แก้ component เดิมจาก “Card” เป็น “Card / Card A”
  • เพิ่ม component ใหม่อีกตัวชื่อ “Card / Card B”

** เน้นว่าอย่าลืมใส่ space ไปรอบๆ “/” ด้วย เพราะทำให้อ่านง่ายขึ้นมากเลย

  • ✅ Card / Card A
  • ❌ Card/Card A

✏️ Key idea 2: การใส่ description และ URL ของ component → ทำให้ component ถูกหาเจอง่ายขึ้น และ ถูกนำไปใช้ถูกจุดประสงค์ขึ้น

Description และ URL เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆแต่คนไม่ค่อยใส่กันครับ

การใส่ข้อมูลใน Description

Description เป็นพื้นที่ให้เราใส่ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ component → โดยที่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกค้นหาเมื่อเราทำการ search component ด้วย

ดังนั้นเราควรจะ

  • ใส่คำอธิบายสั้นๆเกี่ยวกับ component → ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  • ใส่ข้อมูลสั้นๆว่า ถูกใช้ที่หน้าไหนบ้าง (ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด – ถ้าไม่ใช่คำเฉพาะ) → ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  • ใส่ keyword อื่นๆ (ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด – ถ้าไม่ใช่คำเฉพาะ) → ให้ search เจอ component ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง

Component name:

- Foundation / Input

Description:

- Main component for getting data from users
- Used on: home page, contact page
- Keywords: text field, text box
  

จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าคนค้นหาด้วยคำว่า `text field` ก็จะเจอ component นี้ แม้ว่าชื่อของ component จะเป็น `Foundation / Input` ก็ตาม

การใส่ข้อมูลใน URL

URL เป็นพื้นที่ให้เราใส่ link ต่างๆที่อยู่นอก Figma เพื่อให้คนกดไปอ่านเมื่ออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม

ดังนั้นหากเรามี design system document อยู่แล้ว ก็ใส่ไปตรงนี้ได้เลยครับ

🤩 มาดูกันว่า พอตั้งค่าเสร็จแล้วใช้ง่ายขึ้นยังไงบ้าง

เวลาเอามาวางข้างกันก็อ่านง่ายสบายตา

เวลาหา Assets ก็จะดูง่ายว่าอะไรอยู่ตรงไหน เพราะว่ามีการจัดกลุ่มที่ชัดเจน

หาด้วย keyword ได้ แม้จะไม่ตรงกับชื่อของ component

มีข้อมูลสำคัญๆใน description ให้อ่าน จะได้นำไปได้แบบไม่งง

ถ้าสงสัย? มีเอกสารแนบให้กดไปดูภาพเติม

⛰️ หนทางการจัดการ component library ให้ดีนั้น ยังอีกยาวไกล

ยังมีหลายๆอย่างที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้ library ของเรา effective ขึ้นครับ

ยกตัวอย่างเช่น

  • การตั้งชื่อ Layer ให้ดี เพื่อที่จะง่ายแก่การ maintain และสื่อสารกับ developer
  • การทำ document สำหรับ onboarding เมื่อคนมาเริ่มใช้ library ของเรา
  • การทำหน้ารวม Component library (อาจจะจัดกลุ่มตาม Journey ก็ได้)
  • การคอยรีวิว component บ่อยๆกับทีม หรือพูดถึงกันบ่อยๆ
  • การทำ Slack bot ที่คอยแนะนำ component ต่างๆให้กับทีมเป็นระยะๆ

สิ่งที่แนะนำให้ทำในบความนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ถ้าเอาไปลองใช้แล้วไม่เวิร์ค ลองปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับทีมดูนะครับ!

💎 สรุป

  • การใส่ใจในการตั้งชื่อและใส่ข้อมูลต่างให้กับ component ทำให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ควรตั้งมาตรฐานในการจัดการ component ของทีมให้ชัดเจน (ทุกคนต้องทำเหมือนกัน)
  • ตั้งชื่อด้วยรูปแบบ `Component group / Component name` → จะได้อ่านง่าย และมีการจัดกลุ่มที่ชัดเจน
  • ใส่ keywords (คำที่คนอาจจะ search) ไปใน description → จะได้ search เจอง่าย
  • ใส่คำอธิบายการใช้งาน (ใช้เมื่อไร ที่หน้าไหน) → จะได้นำไปใช้ได้ถูกต้อง
  • ใส่ URL ของ exernal document ไว้ให้ด้วย → จะได้มีข้อมูลละเอียดๆไว้ให้ดูเพิ่ม
  • การตั้งชื่อเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ทีมสามารถทำได้

Latest Posts

วิธีใช้ subgrid เพื่อให้เนื้อหา card เรียงกันแบบสวยๆ

สอนวิธีการใช้ subgrid เพื่อสร้าง card ที่มี layout ที่สวยงามและ flexible ได้ตามเนื้อหาที่ใส่เข้ามา

01 Jun 2024 • Marach T.

คู่มือเข้าใจ Burnout: เป็นที่เรา หรือเป็นที่งาน

เบิร์นเอาท์ (burnout) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายแต่รักษาให้หายขาดได้ยาก เพราะมักเกิดจากปัจจัยทั้งภายใน (ตัวเราเอง) และภายนอก (งาน)

17 Feb 2024 • Marach T.

Design principle คืออะไร และช่วยทีมโปรดักอย่างไร

Design principle คือ หลักการที่ใช้ตัดสินใจในการออกแบบ product – ช่วยให้ทีมตัดสินใจได้เหมาะสมและรวดเร็ว

11 Jun 2023 • Marach T.

ดู Posts ทั้งหมด