Design principle คืออะไร และช่วยทีมโปรดักอย่างไร

Design principle คือ หลักการที่ใช้ตัดสินใจในการออกแบบ product – ช่วยให้ทีมตัดสินใจได้เหมาะสมและรวดเร็ว

Marach T.

11 Jun 2023


เวลาพูดถึง design system → designer หลายๆคนมักจะมุ่งเป้าไปที่การสร้าง component library บน Figma และพยายามสร้าง UI ที่มีมาตรฐานและสามารถนำไปใช้ซ้ำได้

ซึ่ง UI library มีประโยชน์ในการแก้ปัญหาในเรื่องของความมีประสิทธิภาพในการทำงาน (efficiency - เร็วมีมาตรฐาน) → แต่อาจจะไม่ได้ตอบเรื่องประสิทธิผล (effectiveness - บรรลุจุดประสงค์ business จริงมั้ย)

ยังมีอีกส่วนหนึ่งของ design system (ที่คนไม่ค่อยพูดถึง) ที่เรียกว่า Design principle = หลักการในการออกแบบ

โดย design principle จะช่วยเราในการตอบคำถาม high level เช่น ฟีเจอร์นี้ควรมีหรือไม่ และช่วยในการคุยและตกลงกับ stakeholder ต่างๆเพื่อทำ trade-off ให้ง่ายขึ้น

** บทความนี้ไม่ได้พูดถึง universal design principle ใดๆ เช่น (Contrast, Repetition, Alignment, Proximity) แต่เน้นไปที่ design principle ในบริบทของ design system และ product team เท่านั้น

Design principle คืออะไร

Design principle (หรือเต็มๆคือ Product design principle) คือ

“หลักการที่ใช้ตัดสินใจในการออกแบบ product – ช่วยให้ทีมตัดสินใจได้เหมาะสมและรวดเร็ว”

เมื่อทุกคนเห็นหลักการเดียวกัน = ทำงานด้วยกันง่าย + ตัดสินใจง่าย = product ไปในทิศทางที่บรรลุ vision ของ business

จินตนาการเหมือนการลงโปรแกรมใส่ไปในหัวของคนให้มีความรู้พอๆกัน เวลามาทำงานด้วยกันก็จะง่ายขึ้น ไม่ต้องจูนกันเยอะ…

ยกตัวอย่าง Design principle 1 ข้อ จาก Medium → “Direction over Choice”

Medium เป็น Platform ให้คนมาเขียน

Principle ข้อนี้เลยบอกว่า “นำทางไปเลย / ไม่ต้องให้ user เลือกเยอะ” → เพื่อให้คนอยากเขียนเข้ามาได้เขียน

ถ้าดูบนหัวเว็บ เขาจะบอกเลยว่า task ที่สำคัญที่อยากให้ทำก็คือ Write

พออยู่ในโหมดเขียนก็คือซ่อนพวกเครื่องมือต่างๆให้โฟกัสกับการเขียน พร้อมกับชี้ให้ทำด้วยคำว่า Tell your story… (เน้นให้เริ่มเขียน!)

พวกเครื่องมือสำหรับ style ตัวอักษร ก็จะมีจำกัด เช่น

  • มีตัวหนังสือแค่สองขนาด (เล็กใหญ่)
  • สามารถทำ list ได้แค่ ระดับเดียว (ทำ nested list ซ้อนๆกันไม่ได้)

ที่ทำแบบนี้ ก็เพื่อให้ไม่ต้องเลือกเยอะ จะได้ focus กับการเขียน

จะเห็นว่า design principle ข้อนี้ข้อเดียว → นำไปอธิบาย feature หลายๆอย่างได้ → การออกแบบ experience ที่เหลือก็ทำมาเพื่อรับ feature เหล่านั้น

คราวนี้จินตนาการต่อ กับสถานการณ์สมมติที่ Medium

  • Business อยากเพิ่ม content ประเภท vdo ให้มาอัดบน medium ได้เลย (เพราะว่า Tiktok มาแรง + engage ดี) → ถึงจะดูเป็น opportunity แต่ว่าก็ไม่ make sense กับ product เรา
  • หรือถ้า Dev บอกว่ามี library ในการจัดการพวก text ต่างๆอยู่แล้ว (สามารถใส่ font-size ได้เลยว่าขนาดเท่าไร มีการใส่สีตัวหนังสือได้หลากหลายๆ ฯลฯ) → ถึงจะลด effort ในการสร้าง → แต่ก็ไม่ make sense กับ product เราถ้าจะใช้ lib ตรงๆ (อาจจะใช้ lib นี้ แต่ควร hide feature ที่เหลือ)

จะเห็นว่า design principle มีส่วนช่วยมากๆ เวลาที่ต้องทำ trade-off ต่างๆใน product team และกับ stakeholder อื่นๆ

แน่นอนว่า design principle ไม่สามารถตอบได้ทุกสิ่ง และไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกสถานการณ์ → แต่การมีอยู่ของหลักการ จะทำให้

  • เรามีแกนความคิดเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
  • เป็นพื้นฐานที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน ก่อนที่จะเริ่มถกเถียงปัญหา

Design principle ที่ดี + มี impact เป็นยังไง

ต้องเกิดจากข้อมูลของหลายฝ่าย

พอเป็นคำว่า “design” principle หลายๆคนอาจจะพยายามทำกันเองในทีม design ซึ่งอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ใช้ได้ในทีม แต่ไม่ได้มี impact มากให้กับทั้งบริษัท ซึ่งอาจไม่ได้เกิด impact เท่าที่ควรจะเป็น

อย่างที่รู้ว่างาน product design มีหน้าที่เพื่อให้ business บรรลุ vision ที่ถูกตั้งไว้ → ดังนั้น design principle จะต้องเกิดจากการเข้าใจ business มากๆ ซึ่งแม้ทีมดีไซน์จะพยายามเพียงไหน ก็ไม่สามารถมองเห็นและทำได้ทั้งหมด

ที่สำคัญ การทำ product ที่แท้จริง คือการ trade-off กับความต้องการของตำแหน่งอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็น business, product, engineers

วิธีการที่ดีคือ ให้ designer เป็น owner ในการ lead แต่ต้องหา input จากตำแหน่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย → อาจจะทำในลักษณะ workshop ก็ได้ เพื่อที่ทุกคนจะได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของ design principle และ ได้ alignment เบื้องต้นไปเลย

หลังจากได้ข้อมูลแล้ว ต้องมากลั่นให้กลายเป็นคำที่ชัดเจน

ต้องชัดเจนไม่กำกวม

การเขียน design principle ที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับทีมที่นำไปใช้ว่าถนัดแบบไหน

ส่วนตัวแล้ว คิดว่า design principle ที่มีประโยชน์จะต้อง

  • มี value ที่เราต้องการเชียร์ชัดเจน
  • สั้นกระชับ จำง่าย
  • ไม่ขัดกันเอง

เช่น

  • Make it clear → อันนี้กว้างไป
  • Only one number 1 priority, what do you want your users to see and do first → ชัดเจน
  • Consistency, efficiency, consistency, beautiful (in this order) → ทำให้รู้ว่าต้องเรียงความสำคัญอย่างไร

ยกตัวอย่างของ medium อีกรอบ ที่เขียนว่า “Appropriate over consistent” ซึ่งชัดเจนว่าอะไรที่สำคัญกว่าในสอง value ที่มัน conflict กัน

ข้อนี้ทำให้เวลามี UI componet ใหม่ๆเกิดขึ้นมา ก็จะคุยกันได้ง่ายขึ้นว่าอนุญาตให้ทำได้นะ (ถ้ามันเหมาะกับสถานการณ์กว่า) หรือว่าถ้าเป็น native mobile (iOS/Android) ก็อาจจะมี component อื่นๆเพิ่มเติมได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมดทุก platform → ทำให้ designer รู้ขอบเขตงาน + engineers / PM เข้าใจใน effort ที่อาจเกิดมากขึ้นด้วย

ซึ่งพอกลั่นเป็นคำที่คิดว่าโอเคแล้ว ก็กลับมาคุยกับ stakeholder อีกที เพื่อสร้าง alignment + commitment และเริ่มนำไปใช้กัน

ต้องมีการสื่อสารอยู่เสมอ

การสร้าง design principle ให้เกิดขึ้นมามันยาก → การให้คนเอาไปใช้ยากกว่า

ถ้าไม่คอยสื่อสารมันจะค่อยๆหายไป → แต่ถ้าสื่อสารได้ต่อเนื่อง คนจะค่อยๆเริ่มใช้ และกลายเป็น culture ขององค์กรในที่สุด

เนื่องจากทีม design เป็น owner → เราจะเป็นจุดศูนย์กลางในการนำไปใช้

  • ใช้ในการรีวิวงานกันและกัน เวลาคนขอ feedback
  • นำ principle ไป audit product ปัจจุบันแล้วคุยกัน
  • ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆ นำไปสู่ stakeholder อื่นๆด้วย
  • จัด training ให้ทุกคนรู้จัก และได้ลองใช้
  • ใส่ลงไปเป็นส่วนหนึ่งของการ onboarding
  • ทำเป็น poster แปะๆไว้ในออฟฟิศ
  • สื่อสารเกร็ดเล็กน้อย เป็น newsletter หรือ annoucement ใน chat ต่างๆ

ต้องมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

พอมีคนเริ่มใช้แล้ว ต้องคอยขอ feedback จากทั้งในทีมและนอกทีมเสมอ + คอยหาโอกาสต่างๆ เพื่อพัฒนาตัว principle ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น

  • มี principle บางข้อที่ทีม make decision ทีไรก็ขัดตลอด → เราก็ควรจะมาวิเคราะห์และปรับใหม่
  • มี business vision เปลี่ยน เราก็ควรมาปรับ principle ตาม
  • มี research ใหม่ที่สร้าง insight ใหม่ → ก็นำมาเขียนเพิ่มเติม (ทำให้ research ที่ทำไปไม่เสียเปล่า)

Design principle คือสิ่งที่ควรมีสำหรับทุกๆทีมดีไซน์

ทุกทีมควรจะมีหลักการในการออกแบบ โดยความละเอียดของ design principle ควรจะขึ้นอยู่กับขนาดของทีมและ stakeholder ที่เราต้อง influence

ถ้าทีมเล็ก (เช่น design 2, dev 6, pm 1) → design principle มันอาจจะเป็นแค่การคุยกันไวๆและตกลงร่วมกัน ที่ได้บันทึกอะไรไว้ แต่มีภาพที่เข้าใจตรงกัน

แต่ถ้าทีมเริ่มใหญ่ การคุยกันอาจจะไม่พอ → การนำผู้เกี่ยวข้องมาเข้าร่วม + ทำให้ design principle ชัดเจนจับต้องได้ + สื่อสารและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง → จะทำให้งาน design ที่เราทำนั้น scale ได้แบบมีมาตรฐานและสร้าง impact ได้จริง

Action items:

  • ถ้าคุณเป็นคนระดับหัวหน้า มาเริ่มสร้าง principle ให้เกิดขึ้นกันเถอะ! งานตรงนี้แม้จะยาก (ต้อง align stakeholder, ต้องดัน, ต้อง communicate) → ในระยะยาวทีมของคุณจะทำงาน + คุยกับแผนกอื่นๆง่ายขึ้นมาก = ทีม design มี impact มาก
  • ถ้าคุณเป็นระดับคนทำงาน ลองเอาไอเดียนี้ไปเล่าให้เพื่อนๆในทีมฟัง หรือถามหัวหน้าดู → เราอาจจะได้ supporter มาช่วยกันสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาก็ได้นะ

References

  • Principle.design – เป็นเว็บรวบรวม design principle หลากหลาย เอาไว้เป็นแรงบันดาลใจ :)

Latest Posts

คู่มือเข้าใจ Burnout: เป็นที่เรา หรือเป็นที่งาน

เบิร์นเอาท์ (burnout) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายแต่รักษาให้หายขาดได้ยาก เพราะมักเกิดจากปัจจัยทั้งภายใน (ตัวเราเอง) และภายนอก (งาน)

17 Feb 2024 • Marach T.

Design principle คืออะไร และช่วยทีมโปรดักอย่างไร

Design principle คือ หลักการที่ใช้ตัดสินใจในการออกแบบ product – ช่วยให้ทีมตัดสินใจได้เหมาะสมและรวดเร็ว

11 Jun 2023 • Marach T.

Learning how to learn: วิธีสร้าง "โกดังความรู้ระดับเทพ"

เรียบเรียงความรู้จากคอร์ส Learning how to learn เช่น การทำงานของสมอง, กลไกของความฉลาด, วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง (ไม่เหนื่อยและได้ผลเยอะ)

28 May 2023 • Marach T.

ดู Posts ทั้งหมด